วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาหารบำรุงสมอง

อาหารบำรุงสมอง
ในแต่ละวันเราต้องการวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ อย่างครบถ้วนเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและมีสุขภาพดี ซึ่งสมองและระบบประสาทก็เช่นเดียวกันที่ต้องการสารอาหารเฉพาะมาบำรุง ลองทบทวนดูสิว่าอาหารการกินของคุณนั้นมีสารอาหารที่เพียงพอแก่ความต้องการของสมองหรือไม่ ซึ่งสารอาหารที่เป็นที่ต้องการของสมองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน

 วิตามินบี ตัวเอกที่สมองและระบบประสาทต้องการ
 วิตามินบี และกรดโฟลิคส่วนใหญ่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ในแต่ละวันคุณควรเลือกอาหารที่ครบด้วยวิตามินบีหลายๆ ชนิดดังนี้
  • วิตามินบี 1 (ไทอามีน Thiamine)   จำเป็นในการบำรุงสมองและเซลล์ประสาทให้แข็งแรง มีมากในอาหารพวกเมล็ดธัญพืช และอาหารที่ปรุงขึ้นจากเมล็ดข้าว  เช่น ขนมปัง ข้าว พาสต้า ธัญพืช รวมทั้งในเนื้อหมูก็มีมากด้วย
  • วิตามินบี 5 (กรดแพนโตธีนิค Pantothenic acid)  ช่วยสร้างโคเอ็นไซม์ที่ช่วยในการถ่ายทอดสัญญาณประสาทเมื่อถูกกระตุ้น ซึ่งมีอยู่ในเนื้อวัว สัตว์ปีกพวกเป็ดหรือไก่ ปลา ธัญพืชที่เป็นเม็ดๆ พืชผักประเภทที่เป็นฝัก เช่น ถั่ว กระถิน นอกจากนี้ยังมีอยู่ในนมสด ผัก และผลไม้ต่างๆ
  • วิตามินบี 6 (ไพริด็อกซิน Pyridoxine)  ช่วยในการเปลี่ยนทริปโตฟาน (Tryptophanให้เป็นเซโรโตนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารเคมีในสมองชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับอารมณ์ความนึกคิดของคน พบได้ในอาหารประเภทไก่ ปลา เนื้อหมู ตับ ไต (เครื่องในสัตว์) และธัญพืช เมล็ดถั่ว ตลอดจนพืชผักชนิดที่เป็นฝัก เช่น ถั่ว หรือกระถิน เช่นกัน
  • วิตามินบี 12 (ไซยาโนโคบาลามีน Cyanocoบีalamin)   ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงให้สมบูรณ์ สร้างโปรตีน และบำรุงรักษาเนื้อเยื่อประสาท พบได้ในไข่ เนื้อสัตว์ ปลา สัตว์ปีก นม และผลิตภัณฑ์จากนมต่างๆ
  • กรดโฟลิค (Folic acid) จำเป็นต่อระบบการเผาผลาญกรดไขมันโมเลกุลยาว (long-chain fatty acid)ในสมอง พบมากในกล้วย น้ำส้ม ธัญพืชต่างๆ มะนาว สตรอเบอร์รี่ แคนตาลูป ผักใบเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง หรือถั่วลันเตา เป็นกรดที่สำคัญมากสำหรับผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะว่าระดับกรดที่ต่ำเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อ neutral tuบีe defect ในทารกเกิดใหม่
สารอาหารที่ช่วยดูแลระบบประสาทของคุณ
แร่ธาตุดังต่อไปนี้มีบทบาทต่อการทำงานของระบบประสาทของคุณไม่น้อย 
  • แมกนีเซียม  พบมากในอาหารจำพวกเมล็ด เช่น ธัญพืชต่างๆ ข้าว ผักชนิดที่มีฝัก ถั่ว และผักใบเขียว
  • โปแตสเซียม  พบในผลไม้เมืองหนาว เช่น แอปริคอท อะโวคาโด กีวี หรือที่หาง่ายในบ้านเราหน่อยก็อย่างเช่น กล้วย ส้ม แคนตาลูป ลูกพรุน องุ่น สตรอเบอร์รี่ รวมทั้งมันฝรั่ง เนื้อวัว หมู และปลา
  • แคลเซียม  พบในนม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต รวมทั้งปลาตัวเล็กตัวน้อยที่รับประทานได้ทั้งกระดูก
การรับประทานให้หลากหลายเข้าว่าจะทำให้คุณได้สารอาหารครบ โดยรับประทานตามปิระมิดอาหารจะช่วยให้คุณทราบถึงสัดส่วนอาหารที่จำเป็นที่ร่างกายเราต้องการ รวมทั้งอาหารสำหรับประสาทและสมองด้วย
 

ผักและผลไม้บางชนิด ช่วยเสริมความจำ
 
การกินผักและผลไม้มากๆ เป็นทางเลือกที่ฉลาด  มีงานวิจัยชิ้นที่ทำในสัตว์บ่งชี้ให้เห็นว่า คนที่กินผักและผลไม้นั้นจะฉลาดขึ้นได้อย่างไร
จากการศึกษาพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระ(Antioxidant) ในผลไม้และผักจะช่วยพัฒนาการเรียนรู้และจดจำมากขึ้น และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมองที่มากขึ้น รวมถึงต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวทำลายสมองด้วย โดยพบว่ามันสามารถป้องกันโรค และเสริมการทำงานของระบบประสาท ความคิด และจิตใจ ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดีขึ้น
พอลล่า พิคฟอร์ด นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากโรงพยาบาลทหารผ่านศึก เจมส์ เอ.ฮาเลย์ ในเมืองทัมปา ซึ่งเป็นผู้นำคณะวิจัยกล่าวไว้ในวารสารการวิจัย The Journal of Neuroscience 
ในงานศึกษาชิ้นแรก คณะวิจัยได้ให้หนูทดลองกินอาหารที่ประกอบด้วยผักขมเป็นส่วนผสมหลัก ขณะที่หนูอีกกลุ่มได้ให้กินข้าวธรรมดา ผ่านไป สัปดาห์ ได้ทดสอบการเรียนรู้หนูทั้ง 2 กลุ่ม โดยให้มันฟังเสียงใดเสียงหนึ่ง แล้วทำการเป่าลมไปที่ตาของมัน นักวิจัยได้เฝ้าสังเกตการกระพริบตาของมันพบว่า
หนูที่กินผักขมเรียนรู้และมีประสาทสัมผัสที่จะเชื่อมโยงกิจกรรมสองอย่างเข้าด้วยกันได้เร็วในวันที่ 3 ของการทดลองเร็วกกว่าหนูที่ได้รับอาหารปกติที่ใช้เวลาเรียนรู้ถึง 5-6 วันเราได้ค้นพบว่าหนูมีการพัฒนาการทำงานของระบบประสาทดีขึ้น
ในการศึกษาชิ้นที่สอง นักวิจัยได้เปรียบเทียบการให้อาหาร ชนิดกับหนูทดลอง หนูกลุ่มแรกได้รับอาหารที่ประกอบด้วยสาหร่ายสไปรูไลนา (ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับสูง) กลุ่มที่สองได้รับแอ๊ปเปิ้ล(มีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับปานกลาง) และกลุ่มที่สามให้กินแตงกวา ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับต่ำสุด
เมื่อประเมินการทำงานของสมองหนู นักวิจัยพบว่า กลุ่มที่ได้กินแอ๊ปเปิ้ลและสาหร่ายสไปรูไลนา ช่วยลดการอักเสบในสมองที่มีมากขึ้นไปตามวัยให้กลับคืนสภาพดีขึ้น
ราช โซฮัล ศาสตราจารย์ด้านเภสัชศาสตร์ โมเลกุลและพิษวิทยา มหาวิทยาลัยเซาท์เทิร์น แคลิฟอร์เนีย ได้ทำการศึกษาคล้ายๆ กันนี้ โดยให้อาหารเสริมพวกวิตามินอี ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระแก่หนู และพบว่ามันช่วยพัฒนาความทรงจำให้กับสัตว์ได้มากขึ้นจากเดิมถึง 15 %
แต่อย่างไรก็ตาม มีคำถามที่ยังไม่มีคำตอบในขณะนี้ คือ ควรกินสารต้านอนุมูลอิสระในขนาดไหน จึงจะแก้ไขความเสื่อมถอยที่เกิดขึ้นตามวัยได้ทั้งหมด และสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณเท่าใดที่มากที่สุดที่ร่างกายจะรับได้โดยไม่เป็นอันตราย ซึ่งโซฮัลและคณะกล่าวว่า การวิจัยดังกล่าวนี้ยังเป็นเพียงการทดลองในชั้นต้นอยู่ และควรจะต้องมีการศึกษามากยิ่งขึ้นในระดับต่อๆ ไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น